คำแนะนำเมื่อถูกยึดรถยนต์โดยไฟแนนซ์

คำแนะนำในกรณีถูกยึดรถ          

โดยทั่วไปคนที่ผ่อนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์  มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการผ่อนชำระค่างวดและมักจะโดนไฟแนนซ์ข่มขู่อยู่เป็นประจำ  ผมขอให้คำแนะนำดังต่อไปนี้           

1.  สิ่งที่ไฟแนนซ์มักจะข่มขู่ เช่น ให้รับผิดชอบค่าติดตามยึดรถ  ค่าทนายความ  ค่าธรรมเนียมศาล  โดยมักข่มขู่ให้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้รับผิดชอบโดยอ้างตัวเลขจำนวนสูง  ไฟแนนซ์ไปสามารถเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามอำเภอใจ การค่าเสียหายเรียกได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น  ผู้เช่าซื้ออย่าวิตก           

2.  การเข้ายึดรถผู้เช่าซื้อจะต้องค้างชำระค่าเช่าซื้อ  3  งวดติดต่อกัน  ก่อนยึดรถอีก  1  เดือน  รวมเป็น 4 เดือน  ไฟแนนซ์จึงจะสามารถยึดรถได้  ถ้ายึดรถก่อนหน้านี้จะมีความผิดตามพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ซึ่งคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องสัญญา  ดังนั้นถ้าไฟแนนซ์มายึดรถก่อนกำหนดเวลาดังกล่าว  ผู้เช่าซื้อต้องอย่ายอมให้ยึดรถให้เรียกตำรวจมาเป็นพยาน           

3.  การยึดรถถ้าผู้เช่าซื้อไม่ยินยอมให้ยึดรถ  ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้  ถ้ามีการบังคับขู่เข็ญหรือไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถหรือกระชากกุญแจรถไป  หรือเอากุญแจสำรองมาเปิดรถและขับหนีไป  การกระทำดังกล่าวมีความผิดต่อเสรีภาพ  ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 309  และถ้ากระทำการโดยมีอาวุธหรือร่วมกระทำความผิดด้วยกัน  ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป  มีโทษจำคุกไม่เกิน 5  ปี   หรือปรับไม่เกิน 10,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  เพราะฉะนั้นถ้ามีคนกระทำการดังกล่าวให้ถ่ายรูปหรือบันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐาน  และแจ้งความดำเนินคดีอาญา  หรือให้ทนายฟ้องศาลได้เลย           

4.  เมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ  การให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถ  ฟันธงได้เลยว่าไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ว่าในกรณีใด ๆ เพราะถ้าผู้เช่าซื้อรถยึดรถแล้วก็จะหมดอำนาจต่อรอง  หลังจากยึดรถไฟแนนซ์จะนำรถของผู้เช่าซื้อไปขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดมาก  เมื่อได้เงินมาไม่เพียงพอกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ  ไฟแนนซ์จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากผู้เช่าซื้อ  แต่ถ้ารถยังอยู่ในความครอบครองของผู้เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อยังสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ได้    และยังมีอำนาจต่อรองกับไฟแนนซ์อยู่           

5.  ในกรณีถูกยึดรถและไฟแนนซ์มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ  อย่าตกใจให้หาทนายสู้คดี  โดยทั่วไปค่าเสียหายของไฟแนนซ์มักจะเวอร์สุด ๆ  ยกตัวอย่างเช่น เรียกมา 1,000,000  บาท  ศาลมักจะพิพากษาให้ชดใช้เพียง 500,000 บาทหรือ 300,000  บาท  เป็นต้น           

6.  เมื่อแพ้คดีไฟแนนซ์จะต้องทำตัวอย่างไร          

ถ้ามีทรัพย์สินถือครอบครองในนามลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์หมด  ถ้าไม่มีทรัพย์สินถือครอบครองในนามลูกหนี้  แต่ถือครอบครองในนามญาติ พี่น้อง  เพื่อนฝูง  ไฟแนนซ์ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคนอื่น  ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ได้  ดังนั้นถ้ามีไฟแนนซ์มาข่มขู่ว่าลูกหนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของใคร  จะยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน  ตอบได้เลยว่าไม่ต้องกลัวเพราะตามกฎหมายยึดไม่ได้

7.  ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่เป็นคำถามยอดฮิตขอตอบได้เลยว่า  ไม่ติดคุกเนื่องจากเป็นคดีแพ่งมิใช่คดีอาญา           

8.  ต้องลาออกจากงานหรือไม่

            ไม่ต้องลาออกเพราะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน  การเป็นหนี้เป็นสิน  เป็นเรื่องส่วนตัว  ไฟแนนซ์นำเรื่องส่วนตัวไปประจานให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของลูกหนี้รับรู้ไม่ได้  ถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท

ค้นหาบทความ